WeLCOME TO WEBSITE of Vatchara
บทที่5 เรื่องนิติกรรม |
นิติกรรม การกระทำที่จะเป็นนิติกรรมจะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 5 ประการ 1. นิติกรรมต้องเริ่มจากการกระทำของบุคคลโดยการแสดง เจตนา 2. การแสดงเจตนาต้องชอบด้วยกฎหมาย 3. การแสดงเจตนาทำโดยสมัครใจ 4. ผู้แสดงเจตนามุ่งโดยตรงที่จะก่อให้เกิดความผูกพันตาม กฎหมาย (นิติสัมพันธ์) ตามที่แสดงเจตนาออกมา 5. มีการเคลื่อนไหวในสิทธิคือ เป็นการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับสิทธิความสมบูรณ์ของนิติกรรม 1. ความสามารถของผู้ทำนิติกรรม 2. วัตถุประสงค์ของนิติกรรม 3. แบบของนิติกรรมความหมายโมฆะกรรมและโมฆียะกรรม โมฆะกรรมคือ นิติกรรมที่ตกเป็นอันเสียเปล่า ใช้บังคับไม่ได้ไม่เกิดผลในทางกฎหมายและไม่ทำให้คู่กรณีมีความผูกพันกันตามกฎหมาย<br> โมฆียะกรรมคือ นิติกรรมที่เมื่อทำขึ้นแล้วมีผลผูกพันกันได้ตามกฎหมาย แต่ก็อาจถูกบอกล้างได้ในภายหลัง ซึ่งจะทำให้นิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆะมาแต่วันเริ่มแรกทำนิติกรรม แต่ถ้าไม่มีการบอกล้างจนล่วงเลยเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้หรือถ้ามีการรับรองคือมีการให้สัตยาบันรับรู้หรือรับรองนิติกรรมนั้น ก็จะทำให้นิติกรรมนั้นสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรกและใช้ได้ตลอดไป จะมาบอกล้างกันอีกต่อไปไม่ได้ข้อแตกต่างระหว่างโมฆะกรรมและโมฆียะกรรม โมฆะกรรม: เป็นการกระทำที่เสียเปล่ามาแต่ต้นไม่มีผลอย่างใดในกฎหมาย โมฆียะกรรม: เป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์ใช้ได้จนกว่าจะถูกบอกล้าง โมฆะกรรม: เสียเปล่าโดยไม่จำเป็นต้องบอกล้าง โมฆียะกรรม: เสียเปล่าต่อเมื่อมีการบอกล้างให้ตกเป็นโมฆะ โมฆะกรรม: ผู้มีส่วนได้เสียทุกคนมีสิทธิกล่าวอ้างความเสียเปล่าได้ โมฆียะกรรม: ผู้มีสิทธิบอกล้างให้เป็นโมฆะได้นั้น จะต้องเป็นบุคคลซึ่งกฎหมายบัญญัติให้สิทธิไว้โดยเฉพาะ โมฆะกรรม: ไม่อาจให้สัตยาบันได้เพราะเป็นการกระทำที่เสียเปล่ามาแต่ต้น โมฆียะกรรม: อาจให้สัตยาบันได้ โมฆะกรรม: การกล่าวอ้างถึงความเสียเปล่าไม่มีกำหนดอายุความหรือกำหนดเวลา โมฆียะกรรม: มีกำหนดเวลาบอกล้าง ถ้าไม่บอกล้างภายในกำหนดเป็นอันหมดสิทธิมาตราที่น่าสนใจ มาตรา 150 การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้อง ชัดแจ้งตามกฎหมายโดยกฎหมายเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ มาตรา 152 การใดมิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฏหมายบังคับไว้ การนั้นเป็นโมฆะ มาตรา 153 การใดมิได้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยความสามารถของบุคคล การนั้นเป็นโมฆียะ มาตรา156 การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมเป็นโมฆะความสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมตามวรรคหนึ่ง ได้แก่ ความสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรมวามสำคัญผิดในตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรมและความสำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม มาตรา 157 การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สินเป็นโมฆียะ มาตรา 159 การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลกเป็นโมฆียะ มาตรา 164 การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่เป็นโมฆียะ มาตรา 172 โมฆะกรรมไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ มาตรา 176 โมฆียะกรรมเมื่อบอกล้างแล้ว ให้ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่แรกและให้ผู้เป็นคู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม ถ้าเป็นการพ้นวิสัยจะให้คืนกลับเช่นนั้นได้ก็ให้ได้รับค่าเสียหายชดใช้แทน มาตรา 181 โมฆียะกรรมนั้นจะบอกล้างมิได้เมื่อพ้นเวลา 1ปี นับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้หรือเมื่อพ้นเวลา 10 ปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะนั้น |