• Home
  • Subjects
  • About Me

WeLCOME TO WEBSITE of Vatchara

2/11
บทที่9 เรื่องบุคลิกภาพ

จากความหมายหรือคำจำกัดความจากนักการศึกษาหรือนักจิตวิทยาหลายท่านที่ได้กล่าวมานั้น  แม้ว่าจะเน้นไปคนละแง่มุมก็ตาม  แต่ทั้งหมดก็มีลักษณะร่วมกัน  คือ พยายามที่จะศึกษาอธิบายและทำนายพฤติกรรมมนุษย์ในการกระทำดังกล่าว  ซึ่งจะเห็นว่า  นักจิตวิทยาได้ค้นคว้า  วิจัยและสร้างทฤษฎี  หาวิธีที่จะทำให้เข้าใจถึงพฤติกรรมของบุคคลที่เป็นเอกลักษณ์ให้มากที่สุด  และพอจะสรุปแล้วบุคลิกภาพ  คือ  คุณสมบัติส่วนรวมทั้งหมดของบุคคลทั้งที่มองเห็นจากภายนอกได้แก่  รูปร่างหน้าตา  กิริยาท่าทางต่างๆ  และที่มองไม่เห็น  เช่น  ความรู้สึกนึกคิด  ทัศนคติ  เป็นต้น   

พัฒนาการทางบุคลิกภาพ
            นักพฤติกรรมนิยมเน้นบทบาทของการเรียนรู้ในการพัฒนาบุคลิกภาพ  ซึ่งมีปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนาบุคลิกภาพดังต่อไปนี้
1. ศักยภาพที่มีมาแต่กำเนิด  (Inborn  Potentialities)  นับว่าเป็นสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด  ซึ่งอาจจะเป็นผลของพันธุกรรมหรืออิทธิพลต่างๆ  ที่มีต่อทารกก่อนคลอด  และสิ่งเหล่านี้มีความแตกต่างเบื้องต้นของมนุษย์ที่จะเป็นเงื่อนไขกำหนดทิศทาง  และขอบเขตในการพัฒนาบุคลิกภาพในระดับหนึ่ง  เช่น  รูปทรง  ลักษณะหน้าตา  ระบบประสาท  ความสมบูรณ์หรือพิการของร่างกาย  ลักษณะอามรณ์  เป็นต้น  ส่วนจะพัฒนาไปอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ  อีกหลายอย่าง  ทารกบางคนเกิดมาแข็งแรง  มีระบบประสาทที่ว่องไว  ในขณะที่ทารกบางคนอ่อนแอขี้โรค  มีระบบประสาทเชื่องช้า  จะเห็นว่าทารกแรกอาจจะพัฒนาบุคลิกภาพขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพสมบูรณ์  อาจเป็นนักกีฬา  และเขาจะมีความเชื่อมั่นในตัวเอง  ส่วนคนหลังอาจจะพัฒนาไปในอีกทางหนึ่ง  เช่น  อาจเป็นคนที่ต้องพึ่งคนอื่นตลอดเวลา  หรืออาจหันไปเอาดีทางเขียนหนังสือ  เล่นดนตรี  แต่หากทารกที่เกิดมาปัญญาอ่อนย่อมไม่สามารถพัฒนาบุคลิกภาพแบบปกติเหมือนคนอื่นๆ  ทั่วไปได้  การที่เด็กเป็นใบ้พูดไม่ได้ก็ย่อมกระทบกระเทือนต่อการพัฒนาบุคลิกภาพได้เหมือนกัน  แต่ในทางกลับกัน  หากเด็กที่พิการมีความสามารถเท่าหรือมากกว่าเด็กปกติก็ย่อมมีบุคลิกภาพที่ดีได้  เช่น  เด็กที่ไม่มีแขนไม่มีขา  แต่สามารถใช้เท้าทำงาน  หรือเขียนหนังสือแทนมือได้  สามารถช่วยตัวเองได้  ก็จะได้รับการยกย่องชมเชยจากสังคมว่าเป็นคนที่มีความสามารถพิเศษ  ซึ่งในเด็กธรรมไม่สามารถทำได้  มีตัวอย่างบุคลิกภาพมากมายหลายคน  ที่มีชื่อเสียงในเรื่องความสามารถทั้งคนไทยและต่างประเทศในยุคปัจจุบัน
2. สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้  ในช่วงพัฒนาการของทารก  ทารกมีประสบการณ์ต่างๆกับสังคม  และได้รับสิ่งเร้าที่มากระทบมากมาย  ทารกก็ต้องเรียนรู้ที่จะจัดการกับสิ่งแวดล้อมเหล่านี้  โดยจะต้องรู้ว่า  เขาต้องมีบทบาทอะไรบ้างสำหรับฐานะต่างๆ  ของเขาในสังคม  และเขาต้องเรียนรู้ที่จะแสดงบทบาทของเขาได้อย่างเหมาะสม  การเรียนรู้จากสิ่งเร้าและประสบการณ์ต่างๆ  ในสิ่งแวดล้อมย่อมเป็นส่วนสำคัญในการหล่อหลอมบุคลิกภาพของบุคคลว่าเขาจะเป็นคนอย่างไร  เขาแสดงพฤติกรรมและมีวิธีปรับตัวอย่างไร  เด็กที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี  อยู่ในสภาวะบ้านแตกสาแหรกขาด  ประสบกับความอดอยาก  ได้ยินแต่เสียงด่าทอทะเลาะเบาะแว้ง  พบเห็นแต่ความสกปรกรกรุงรังอยู่ตลอกเวลา  ก็ย่อมจะพัฒนาบุคลิกภาพไปในทางที่แตกต่างกับเด็กที่อยู่ในครอบครัวที่อบอุ่น ได้รับความรักความห่วงใยจากครอบครัวอยู่ตลอดเวลา  ซึ่งเด็กกลุ่มนี้ย่อมมีบุคลิกภาพที่ดีกว่า  และประสบความสำเร็จในชีวิตที่ดี  มีประสบการณ์ที่ดีจนบางคนนำไปยึดเป็นแบบอย่างชีวิตได้  ประสบการณ์แบ่งเป็น  2 ประเภท  ได้แก่
2.1 ประสบการณ์ร่วมทางวัฒนธรรม  หมายถึง  ประสบการณ์ที่บุคคลได้รับเหมือนกันหรือในทำนองเดียวกัน  อันเป็นผลจากการที่อยู่ในสังคมเดียวกัน  ได้แก่  ขนบธรรมเนียมประเพณี  ค่านิยม  ความเชื่อ  ทัศนคติ  คำสั่งสอนต่างๆ  ของสังคม  ตลอดเวลาที่เราเจริญเติบโต  เราจะศึกษาและประพฤติตนตามวิถีทางของสังคมที่เห็นว่าถูกต้อง  หรือ  คาดหวังกับเราโดยที่เราไม่ต้องหาเหตุผล  หรือสงสัยในความถูกต้อง  และไม่นึกว่าตนในวัฒนธรรมอื่นอาจจะไม่เห็นด้วย  เช่น  ประเพณีการไหว้  ความเกรงใจ  เป็นต้น  บุคคลที่เจริญเติบโตในสังคมต่างกันก็ย่อมมรแผนโครงสร้างหรือแง่มุมของบุคลิกภาพที่แตกต่างกันออกไป  เพราะค่านิยมและวิถีการดำเนินชีวิตต่างกัน  อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่า  คนที่อยู่ในวัฒนธรรมเดียวกันจะต้องมีบุคลิกภาพที่เหมือนกัน  เพราะการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมโดยตัวแทนของสังคมต่างๆ  เช่น  พ่อแม่ครู  อาจารย์  เพื่อน  อาจไม่เป็นรูปแบบเดียวกันหรือมีความสามารถในการถ่ายทอดเหมือนกันโดยแท้จริง  และในแต่ละสังคมใหญ่ก็จะมีสังคมย่อยๆ  อีกมากมาย  เช่น  สังคมของผู้ร่วมอาชีพเดียวกัน  สังคมชาวพุทธ  สังคมของผู้หญิง  เป็นต้น  สังคมย่อยเหล่านี้  ก็จะมีวัฒนธรรมของตนเองมาหล่อหลอมบุคคลที่เป็นสมาชิกด้วย
2.2 การประสบการณ์เฉพาะ  เป็นประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลได้รับในช่วงของเขา  โดยที่คนอื่นอาจไม่มีและย่อมเกี่ยวข้องพัวพันอยู่กับบุคคลที่เราสัมพันธ์ด้วยอย่างใกล้ชิด  เด็กที่มีพ่อแม่เข้มงวดมากใช้วิธีการปกครองแบบเผด็จการ  ซึ่งมักจะใช้วิธีการลงโทษอย่างรุนแรง  เช่น  เฆี่ยนตี  ไม่ฟังเหตุผล  ย่อมมีประสบการณ์ส่วนตัวที่แตกต่างจากเด็กที่พ่อแม่ใจดี  มีเหตุผลในการอนุญาตในการทำกิจกรรมต่างๆ  ที่เหมาะสมตามความสามารถ  ให้รางวัลเมื่อถูก  และทำโทษเมื่อผิดเด็กคนแรกอาจจะเกิดการมองโลกในแง่ร้าย  ไม่ไว้ใจในสังคม  จนเกิดพฤติกรรมที่ต่อต้านสังคม  ส่วนเด็กคนหลังอาจจะเติบโตขึ้นมาอย่างมีความเชื่อมั่นในตนเอง  มองโลกในแง่ดี  รู้อะไรควรไม่ควร  สำหรับประสบการณ์เฉพาะจะครอบคลุมไปถึงประสบการณ์ร้างแรง  เช่น  ความผิดหวังที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้  การที่คนรักสิ้นชีวิต  หรือความเจ็บป่วยอย่างหนัก  ความคับแค้นใจอันเนื่องมาจากอยุติธรรมของสังคม  สิ่งเหล่านี้ย่อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการของบุคลิกภาพทั้งสิ้น


2/11

Subjects

1.Psychology

2.Software Engineering

3.Business Law 1

4.Java Programming Language

Now

Lesson

1.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยา

2.อิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม

3.พัฒนาการของมนุษย์

4.พื้นฐานทางสรีรวิทยาที่เกียวข้องกับ
พฤติกรรม


5.การรับสัมผัสและการรับรู้

6.การจูงใจ

7.การเรียนรู้

8.เชาว์ปัญญา

9.บุคคลิกภาพ

10.สุขภาพจิต

11.การปรับตัว

12.อิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม



 

Design by Mr.Vatchara Jirapathomthai